วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

         การแต่งตัวอักษร



1.การกำหนดแบบอักษร

การกำหนดฟอนต์ ก็เหมือน ๆ กับตอนที่เราิพิมพ์งานใน word นั้นละค่ะ ซึ่งเราจะสามารถเลือกได้ว่าเราจะใช้ฟอนต์แบบไหน ซึ่งอาจจะเป็น Arial หรือ Angsana New เป็นต้น ในการเขียน HTML เราก็สามารถกำหนดได้ค่ะ ว่าจะให้ข้อความของเราแสดงผลด้วยรูปแบบของฟอนต์แบบไหน แต่ในการเขียนเว็บเพจนั้น ฟอนต์ที่เป็นที่นิยมจะมีด้วยกัน 2 ชนิดคือ MS Sans Serif และ Tahoma โดยฟอนต์แบบ MS Sans Serif จะนิยมใช้กับเว็บที่มีการแสดงผลข้อความเป็นภาษาไทย และ Tahoma มักใช้การแสดงผลข้อความเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็สามารถใช้กับข้อความภาษาไทยได้เหมือนกัน (อย่าง Nextstepdev ก็ใช้ฟอนต์แบบ Tahoma) รูปแบบการกำหนดชื่อฟอนต์ ก็เป็นตามตัวอย่างด้านล่างค่ะ 

<html>
  <head><title> ....การหนดรูปแบบฟอนต์ของข้อความ....</title></head>
       <body>
               <font face = "MS Sans Serif"> ข้อความนี้กำหนดฟอนต์แบบ MS Sans Serif </font> <br>
               <font face = "Tahoma"> ข้อความนี้กำหนดฟอนต์แบบ Tahoma </font> <br>
       </body> 
  </html>



2.การกำหนดขนาดตัวอักษร

มีอยู่ 6 ระดับ คือ H1, H2, H3, H4, H5 และ H6 โดยจะเรียงจากขนาดใหญ่ไปหาเล็ก



H1   จะมีขนาด 21 pixel และตัวหนา

H2   จะมีขนาด 17 pixel และตัวหนา

H3   จะมีขนาด 14 pixel และตัวหนา

H4   จะมีขนาด 12 pixel และตัวหนา

H5   จะมีขนาด 11 pixel และตัวหนา

H6   จะมีขนาด 9 pixel และตัวหนา

เช่น 
<Html>                                                          
<Body>
<H1> H1 </H1>                                           

<H2> H2 </H2>


<H3> H3 </H3>


<H4> H4 </H4>

<H5> H5 </H5>


<H6> H6 </H6>


</Body>  
</Html>  





3 สีตัวอักษร

การกำหนดสีสันของข้อความเป็นเรื่องสำคัญอยู่ในลำดับต้น ๆ ของการทำเว็บเลยทีเดียว เพราะสีสันข้อความสามารถดึงดูดสายตาของผู้เยี่ยมชม หากข้อความของเว็บใช้สีที่อ่านยาก เพราะว่าสีกลืนกันไปหมดกับพื้นหลัง ความสำคัญของการสื่อความหมายของข้อความนั้น ๆ อาจอ่อนด้อยลง ดังนั้นการพิจารณาเลือกใช้สีควรเลือกให้เหมาะกับโทนสีทั้งหมดของเว็บ ไม่ควรอ่อนด้อยเกินไป หรือโดดเด่นเิกินไป (สำหรับข้อความเล็ก ๆ ต้องการเน้นอาจทำได้) ซึ่งรูปแบบการใส่สีให้ข้อความในเว็บมีดังนี้

  <html>
  <head><title> ....การหนดรูปแบบสีข้อความ....</title></head>
       <body>
               <font color = "red"> ข้อความนี้กำหนดให้เป็นสีแดง</font> <br>
               <font color = "#0000ff"> ข้อความนี้กำหนดให้เป็นสีน้ำเงิน </font> <br>
       </body> 
  </html>


4. ตัวเอียง ตัวหนา ตัวขีดเส้นใต้

           <b> = ตัวหนา
            <i> = ตัวเอียง
           <u> = ตัวขีดเส้นใต้

            <b>HTML</b><br>
            <i>HTML</i><br>
            <u>HTML</u><br>





5. ตัวขีดฆ่า ตัวยก ตัวห้อย


ตัวขีดฆ่า ใช้คำสั่ง <S>...</S>

ตัวอักษรยกขึ้น ใช้คำสั่ง <SUP>...</SUP>

ตัวอักษรห้อยลง ใช้คำสั่ง <SUB>...</SUB>




6. ตัวอักษรวิ่ง ตัวอักษรกระพริบ

ตัวอักษรกระพริบ ใช้คำสั่ง <BLINK>...</BLINK>
ตัวอักษรวิ่ง        ใช้คำสั่ง 
 1.<marquee direction="left">ข้อความวิ่งจากขวาไปซ้าย</marquee>
 2.<marquee direction="right">ข้อความวิ่งจากซ้ายไปขวา</marquee> 
 3.<marquee direction="up">ข้อความวิ่งจากล่างขึ้นบน</marquee>
 4.<marquee direction="down">ข้อความวิ่งจากบนลงล่าง</marquee>



7. การจัดตำแหน่งตัวอักษร

  1. การกำหนดให้อยู่ตำแหน่งกึ่งกลางด้วยแท็ก Center  <center> ...ข้อความ...</center>
   2. การกำหนดตำแหน่งโดยใช้ Attribute ของแท็ก <p> โดยใช้ Attribute align รูปแบบดังนี้ 
              <p align = "ตำแหน่ง"> ...ข้อความ...</p>ตำแหน่งที่สามารถระบุได้ คือ left center หรือ right

อ้างอิง
http://www.nr.ac.th/learning/htmlforweb/learning2.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น